ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ในการสร้างบ้านและอาคารนั้น การก่อสร้างมักจะใช้ฐานรากเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด โดยทั่วไปจะตอกเสาเข็มให้ปลายของเสาเข็มลงลึกไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นดินดาลข้างล่าง รับสร้างบ้าน เพื่อให้ส่วนปลายของเสาเข็มเป็นตัวรับน้ำหนัก (End Bearing) ในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 21 เมตร โดยที่ดินในชั้นนี้มีคุณสมบัติพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของตัวบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 5 ชั้นได้ เทคนิคการตอกเสาเข็มด้วยวิธี Last 10 Blow ชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ การใช้ฐานรากเสาเข็มในชั้นดิน Soft Bangkok Clay แต่ปัญหาจะเจอก็คือ ในแต่ละพื้นที่ชั้นดินเหนียวแข็งอยู่ลึกไม่เท่ากัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าปลายของเสาเข็มที่ตอกลงไปถึงชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว ตอบแบบง่ายๆ ก็คือ ตอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตอกไม่ลงอีก ซึ่งเราสามารถเช็คได้จากจำนวนครั้งที่ปล่อยลูกตุ้มว่าทำให้เสาเข็มจมลงเท่าไหร่นั่นเอง โดยทั่วไปเรานิยมใช้กันอยู่ 2 เทคนิค คือ

  1. Blow Count

Blow Count คือ จำนวนครั้งของการยกตุ้มตอกที่ทำให้เสาเข็มจมลงไปในดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร (ยิ่งจำนวนครั้งของการยกตุ้มมีเยอะขึ้นแสดงว่าปลายเสาเข็มเริ่มลงไปถึงชั้นดินแข็งแล้ว ถ้าหากได้จำนวนตามที่กำหนดไว้ เราจะเริ่มใช้เทคนิค Last 10 Blow ต่อไป)

  1. Last 10 Blow

Last 10 Blow เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการตรวจสอบการจมของเสาเข็ม จะทำเมื่อเริ่มรู้สึกว่าตอกเสาเข็มไม่จมแล้ว จะใช้การขีดเส้นแนวนอนที่เสาเข็ม 1 เส้น ต่อการปล่อยลูกตุ้ม 10 ครั้ง แล้วดูระยะห่างของเส้นที่ขีด เมื่อเส้นอยู่ชิดกันจนไม่มีระยะห่างแล้วหมายความว่าปลายของเสาเข็มไปอยู่ที่ชั้นดินเหนียวแข็งแล้ว จะหยุดการตอกเสาเข็มต้นนั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเสาเข็มได้ หรือขึ้นอยู่กับทางวิศวกรกำหนดให้อีกที ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน

ลูกปูนและระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริมในประเทศไทย

ลูกปูน (Spacer) มีหน้าที่ช่วยหนุนเหล็กเสริมเพื่อให้มีระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ที่ต้องการ ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบไว้ และเพื่อไม่ให้เหล็กเสริมติดกับไม้แบบเวลาหล่อคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีลูกปูนหนุนเหล็กเสริม เนื้อปูนจะบางทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่หล่อนั้นมีประสิทธิภาพในการรับแรงที่น้อย เนื่องจากเนื้อเหล็กอยู่ใกล้ผิวคอนกรีตจึงมีโอกาสสัมผัสความชื้นและเกิดสนิมได้ง่าย อาจทำให้โครงสร้างบริเวณดังกล่าวแตกร้าว และอาคารทรุดในเวลาต่อมา การจะสร้างบ้านขึ้นมาซักหลังนั้น การทำงานในส่วนของโครงสร้างถือเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นงานฐานราก งานเทคาน งานเทพื้น หรืองานเทเสา จะต้องทำงานให้ออกมาถูกต้องตามหลักการทางวิศวกรรม เพราะโครงสร้างเหล่านี้เปรียบเสมือนแกนกระดูกหลักของงานก่อสร้าง ถ้าทำไม่ดีอาจเกิดการพังเสียหาย อาจถึงขั้นต้องทุบบ้านทิ้งก็มีมาแล้ว ระยะหุ้มของคอนกรีตที่ถูกต้อง เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารมีมาตรฐานเช่นใด ระยะหุ้มของคอนกรีต หรือ Concrete Covering คือ ระยะหุ้มของคอนกรีตกับเหล็กเสริมที่มีระยะหุ้มที่เพียงพอเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตสามารถรับกำลังอัดตามที่วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบไว้ และเพื่อกันไม่ให้เนื้อเหล็กเสริมได้สัมผัสกับอากาศหรือน้ำอยู่รอบโครงสร้างนั้นได้โดยตรง อันจะมีผลทำให้เหล็กเกิดสนิมจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ทำให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานที่สั้นลง ระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริมในประเทศไทย มีข้อกำหนดไว้ 2 มาตรฐาน ดังนี้

  1. ระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริม

ตามข้อกำหนดของทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) สำหรับงานเสาเข็ม ฐานราก คาน เสา มีฐานรากและองค์อาคารส่วนสำคัญที่สัมผัสกับดินตลอดเวลา ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 7.5 ซ.ม.

  1. คอนกรีตที่สัมผัสกับดินหรือถูกแดดถูกฝน

เหล็กเส้นขนาดใหญ่กว่า 16 มม. ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 5 ซ.ม. เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม.

  1. คอนกรีตที่ไม่สัมผัสกับดินหรือไม่ถูกแดดถูกฝน

ในแผ่นพื้น ผนัง และตง เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 44 มม. ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม. เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มน้อยสุด 2 ซ.ม. ในคาน เหล็กเสริมหลักและเหล็กลูกตั้ง ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 3 ซ.ม. ในเสา ทั้งแบบเหล็กปลอกเดียวและเหล็กปลอกเกลียว ต้องมีระยะหุ้มน้อยสุด 3.5 ซ.ม. ในคอนกรีตเปลือกบางและพื้นแผ่นพับ สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม. ต้องมีระยะหุ้มน้อยสุด 2 ซ.ม. สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 1.5 ซ.ม.

  1. ให้เพิ่มความหนาของคอนกรีตหุ้มเหล็ก

ให้เพิ่มความหนาของคอนกรีตหุ้มเหล็กได้ตามความเหมาะสม เมื่ออยู่ในสภาวะรุนแรง หรือบรรยากาศที่อาจก่อให้เกิดการผุกร่อน

  1. ให้ใช้ค่าที่มากกว่าเป็นเกณฑ์บังคับ

กรณีใช้ร่วมกับมาตรฐานอื่น เช่น การป้องกันอัคคีภัย คอนกรีตหล่อสำเร็จ โครงสร้างเปลือกบาง ฯลฯ ให้ใช้ค่าที่มากกว่าเป็นเกณฑ์บังคับ ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน งานก่อสร้าง ขอนแก่น

ระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริม ลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในแบบหล่อ

ระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริม ตามกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549 เสาสี่เหลี่ยมที่มีด้านแคบขนาด 30 ซ.ม. ขึ้นไป แต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม. เสากลมหรือเสาตั้งแต่ห้าเหลี่ยมขึ้นไป ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ซ.ม. ขึ้นไป ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม. คานและโครงสร้างข้อหมุนคอนกรีต ขนาดกว้างตั้งแต่ 30 ซ.ม. ขึ้นไป ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม. พื้นหนาไม่น้อยกว่า 11.5 ซ.ม. ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 2 ซ.ม. การทำให้ระยะหุ้มคอนกรีตได้ขนาดตามต้องการ ผู้รับเหมาจะใช้ลูกปูนคอนกรีตรองเหล็กเสริมไม่ให้ติดกับแบบหล่อระหว่างเทคอนกรีต การรองเหล็กเสริมด้วยลูกปูนเพื่อให้ได้ระยะหุ้มที่ต้องการ การติดลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในแบบหล่อคาน คสล. การทำลูกปูนหนุนคอนกรีต อย่าลืมใส่ลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในแบบหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กทุกครั้ง เพื่อให้ระยะหุ้มเป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างทีดี เนื่องจากลูกปูนทำหน้าที่หนุนเหล็กเสริมจึงต้องรับแรงกดที่เกิดขึ้น ดังนั้นในการทำลูกปูนจึงต้องใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือปูนที่ใช้ผสมคอนกรีตสำหรับเทโครงสร้างแล้วนำไปผสมกับทราย ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ปูนที่ผสมในงานก่อหรืองานฉาบเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกปูนแตกได้ โดยทั่วไปลูกปูนจะมีลักษณะเป็นชิ้นคอนกรีตทรงลูกบาศก์หรือทรงกระบอก หน้าตัดมีลักษณะปาดเรียบและมีลวดอยู่กึ่งกลางสำหรับมัดติดกับเหล็กเสริม ขนาดและความสูงขึ้นอยู่กับประเภทของโครงสร้างว่าต้องการระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก (Concrete Covering) เท่าใด ขอนแก่นรวมช่าง Blow Count เทคนิคการตอกเสาเข็มที่แตกต่างกัน รับเหมาก่อสร้าง