ขอนแก่นรวมช่างทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)
xn--12cact5gbb0dqd0fj2ae4cte8v5a5kko.com | Posted on |
ขอนแก่นรวมช่างทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)
ขอนแก่นรวมช่างในการเทคอนกรีตจำเป็นต้องทำการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ทุกครั้งที่เปลี่ยนอัตราส่วนผสมของน้ำกับปูนซีเมนต์ หรือเมื่อผู้ควบคุมงานเห็นว่าคอนกรีตข้นหรือเหลวเกินไป โดยวิธีทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต ให้เป็นไปตาม มทช.(ท) 103: มาตรฐานการทดสอบการยุบตัวของคอนกรีต การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ตัวอย่างการทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ของคอนกรีตที่ใช้ในการผลิตเสาเข็มไมโครไพล์ ของโรงงานผลิตเสาเข็ม ทิฐินันท์ ไมโครไพล์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) แบบ (Mold) เป็นวัสดุทรงกรวย ทำด้วยโลหะที่ไม่ทำปฏิกริยากับปูนซีเมนต์ เหล็กกระทุ้ง (Tamping Rod) เป็นแท่งเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ยาว 610 มิลลิเมตร (24 นิ้ว) ปลายด้านที่ใช้กระทุ้งมีลักษณะมน การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ขั้นตอนการทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) วางแบบ (Mold) ลงบนพื้นราบ ให้ส่วนปลายอยู่ด้านบน ใส่คอนกรีตที่จะทดสอบลงในแบบประมาณ 1/3 ของปริมาตรของแบบ แล้วใช้เหล็กกระทุ้ง กระทุ้งให้ทั่วผิวของคอนกรีตในแบบ จำนวน 25 ครั้ง ทำตามขั้นตอนในหัวข้อที่ 2 อีก 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 3 เมื่อคอนกรีตยุบลงให้เติมคอนกรีตให้เต็มแบบ ใช้แท่งเหล็กปาดขอบผิวบนของแบบจนคอนกรีตเรียบ จับที่หูยกแล้วยกแบบขึ้นตามแนวดิ่ง ระวังอย่าให้กระทบเนื้อคอนกรีตภายใน วัดระยะที่ยุบตัวของ คอนกรีต เทียบกับระยะความสูงของแบบ ขอนแก่นรวมช่าง กรณีที่คอนกรีตทดสอบเกิดล้มหรือทลายลงทันทีที่ยกแบบขึ้นหรือเกิดไหลออกทางข้างใดข้างหนึ่งเนื่องจากแรงเฉือน ให้ถือว่าการทดสอบยังไม่ได้มาตรฐานต้องยกเลิกและทาการทดสอบใหม่ ขอนแก่นรวมช่างทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)
การทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)
เกณฑ์การตัดสินและความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ค่าการยุบตัวของคอนกรีตให้เป็นไปตาม มทช. 101-2533 มาตรฐานงานคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นไปตามค่าที่กำหนดไว้ดังนี้ ฐานราก ค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5-7.5 เซนติเมตร รับสร้างบ้าน แผ่นพื้น คาน ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5-10 เซนติเมตร เสา ตอม่อ ค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5-12.5 เซนติเมตร ครีบคอนกรีตเสริมเหล็กและผนังบางๆ ค่าการยุบตัวของคอนกรีตอยู่ที่ 5-15 เซนติเมตร ขอนแก่นรวมช่างคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน และนำใส่รถเพื่อเตรียมจัดส่งให้หน่วยงานก่อสร้าง ช่วยทำให้งานเทคอนกรีตทำได้ง่ายขึ้น ช่วยลดแรงงานที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้างลง เป็นคอนกรีตที่เข้ามาทดแทนการผสมคอนกรีตด้วยโม่เล็ก ที่ผู้รับเหมาจะต้องเริ่มตั้งแต่การสั่งซื้อ หิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำยาผสมคอนกรีตมา แล้วจึงจัดการหาเครื่องผสมปูนและทีมงาน แต่ในปัจจุบันผู้รับเหมาเปลี่ยนมาใช้คอนกรีตผสมเสร็จกันแทบทั้งหมดแล้ว สิ่งที่ต้องรู้เมื่อต้องสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ ปริมาณที่ต้องใช้คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จจะขายเป็นลูกบาศก์เมตร (คิว) ดังนั้นต้องดูพื้นที่ที่ต้องการเทคอนกรีตกว่ามีขนาด กว้าง x ยาว เท่าไหร่ และต้องการเทคอนกรีตหนาขนาดไหน ค่ากำลังอัดคอนกรีต (Strength) คือค่าความแข็งแรงของคอนกรีต มีหน่วยวัด KSC โดยตัวเลขที่มากขึ้นหมายถึงค่าความแข็งแรงที่สูงขึ้นและมีราคาที่แพงขึ้น ดังนั้นจึงต้องเลือกกําลังอัด (KSC) ที่ตรงกับลักษณะของงานก่อสร้าง ขอนแก่นรวมช่างทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test)
ฐานราก (Footing) แต่ชนิด แตกต่างกันยังไง
ฐานราก หรือที่ช่างนิยมเรียกกันว่า “ฟุตติ้ง” คือโครงสร้างส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจากเสาแล้วถ่ายลงสู่ดิน การใช้ฐานรากแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก จะก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็ว และมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ขอนแก่นรวมช่าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินที่มีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินที่ตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น พื้นที่ดินลูกรัง พื้นที่ภูเขาทะเลทราย ฐานรากลึก (Deep Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะ แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของฐานราก ความแข็งแรงของตัวฐานรากเอง ซึ่งหมายถึงโครงสร้างส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินใต้ฐานราก การทรุดตัวของดินใต้ฐานราก ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันทุกฐานราก ขอนแก่นรวมช่างทดสอบหาค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ต่อเติมบ้าน ขอนแก่น
ฐานราก (Footing) แต่ชนิด แตกต่างกันยังไง
ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก มีลักษณะของการก่อสร้างและความสามารถในการรับน้ำหนักที่แตกต่างกัน แบ่งได้ดังนี้
- ฐานแผ่เดี่ยว (Spread Footing)
หมายถึงฐานรากที่รับน้ำหนักจากเสาอาคาร เพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดิน ความหนาของตัวฐานต้องสามารถต้านทานโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนได้อย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการกัดกร่อนตัวเหล็กเสริมเนื่องจากความชื้น ในบางกรณีที่เสาอาคารไม่วางอยู่บนศูนย์กลางฐานราก เช่นอยู่ติดเขตที่ดินอาจถูกออกแบบให้เสาวางอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของฐานราก เราเรียกว่าฐานรากแบบนี้ว่า ฐานรากตีนเป็ด
- ฐานต่อเนื่องรับกำแพง (Continuous Footing)
หมายถึงฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐ หรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็กของอาคารหลายๆ ชั้น ขนาดความกว้างของฐานรากขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดลงสู่ฐานราก
- ฐานแผ่ร่วม (Combined Footing)
เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากเดี่ยวที่สมมาตรได้ ซึ่งฐานรากที่ไม่ สมมาตรนี้เมื่อรับน้ำหนักที่ถ่ายลงบนฐานไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงเยื้องศูนย์ อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้
- ฐานรากชนิดมีคานรัด (Cantilever Footing)
เป็นการออกแบบฐานรากเพื่อแก้ปัญหากรณีไม่สามารถสร้างฐานรากที่สมมาตรได้อีกวิธีหนึ่ง เหมาะกับเสาของอาคารที่มีความจำเป็นต้องสร้างประชิดติดกับอาคารเดิม หรือแนวเขตดินที่ไม่สามารถวางตาแหน่งของฐานให้ ตรงกับแนวเสาตอม่อได้ จึงออกแบบให้มีคานคอนกรีตแบกรับน้ำหนักจากเสาตอม่อ
- ฐานรากแพ (Mat or Raft Foundation)
เป็นฐานร่วมขนาดใหญ่ใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาหลายๆ ต้น โดยจะแผ่บนพื้นที่กว้างๆ บางครั้งจะใช้รับน้ำหนักบรรทุกของเสาทุกต้นของอาคารก็ได้โดยมากแล้วเราจะใช้ฐานแพกับอาคารสูง ข้อดีของฐานรากชนิดนี้เมื่อเทียบกับฐานรากเดี่ยวคือ กระจายน้ำหนักสู่ดิน หรือหินเบื้องล่างได้ดีกว่า และปัญหาการทรุดตัวต่างระดับแทบหมดไป เพราะฐานรากชนิดนี้มีความต่อเนื่องกันตลอดโยงยึดกันเป็นแพ แต่การก่อสร้างจะยุ่งยาก และสิ้นเปลือง งานก่อสร้าง ขอนแก่น